0

Alpha Lipoic Acid (ALA) พลังแฝงสุดแกร่ง


2024-10-04 09:18:13
#ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร #ระบบภูมิคุ้มกัน #การต้านอนุมูลอิสระ #วิตามินซี

กำเนิด “Alpha Lipoic Acid (ALA)”

     Alpha Lipoic Acid (ALA) แอลฟาไลโปอิก เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการเมแทบอลิซึมของเซลล์ โดย ALA ถูกค้นพบครั้งแรกในปี 1937 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ Irwin C. Gunsalus แต่โครงสร้างทางเคมีของมันถูกระบุอย่างชัดเจนในปี 1951 โดย Lester Reed และคณะ ALA เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีจุดเด่นคือสามารถละลายได้ทั้งในน้ำและไขมัน ทำให้มันสามารถทำงานได้ในทุกส่วนของเซลล์


ประโยชน์ลับๆของ ALA

  1. การต้านอนุมูลอิสระที่ทรงพลัง

จากการศึกษาของ Packer และคณะในปี 1995 ระบุว่า ALA นอกจากจะเป็นสารต้านอนุมูลอิสระคุณภาพสูงในตัวเองอยู่แล้วนั้น ยังมีพลังแฝงในการช่วยฟื้นฟูสารต้านอนุมูลอิสระอื่นๆ เช่น วิตามินซี วิตามินอี และกลูตาไธโอน ให้สามารถกลับมาทำงานได้อีกครั้ง

  1. คุมน้ำตาลก็ยังได้

     การศึกษาของ Jacob และคณะในปี 1999 พบว่า ALA ช่วยเพิ่มความไวต่ออินซูลินได้อีกด้วย ซึ่งมีผลดีต่อผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2

  1. ปลายประสาทอักเสบ

     Ziegler และคณะในปี 2006 ได้ทำการพิสูจน์ว่า ALA สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดและชาในผู้ป่วยที่มีภาวะปลายประสาทอักเสบจากเบาหวาน

  1. สุขภาพตับ

     การศึกษาของ Bustamante และคณะในปี 1998 พบว่า ALA ช่วยปกป้องตับจากความเสียหายและส่งเสริมการทำงานของตับให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ALA ในสิ่งต่างๆ

ALA ในสิ่งต่างๆ

  1. อาหารเสริม

     ALA เริ่มมีการนำไปใช้ในรูปแบบอาหารเสริม โดยทั่วไปแนะนำให้รับประทาน 300-600 มิลลิกรัมต่อวัน และนิยมใช้คู่กับสารต้านอนุมูลอิสระตัวอื่นๆเช่น วิตามินซี หรือ วิตามินอี

  1. อาหาร

     ในแหล่งอาหารมีก็ ALA ได้แก่ เนื้อแดงชนิดต่างๆ (โดยเฉพาะเครื่องใน) ผักใบเขียว มันฝรั่ง บร็อคโคลี่ ผักโขม ถั่วลันเตา มะเขือเทศ และยีสต์ 

  1. วงการแพทย์

     ในบางประเทศ มีการใช้ ALA ในการรักษาภาวะปลายประสาทอักเสบจากเบาหวานและโรคตับบางชนิด

    

     ALA นับเป็นอีกหนึ่งสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประโยชน์หลากหลาย และถ้าอยากได้ประสิทธิภาพของ ALA อย่างเต็มที่ก็ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มี ALA อยู่คู่กับสารต้านอนุมูลอิสระชนิดต่างๆ เช่นวิตามินซี เนื่องด้วยคุณสมบัติในการช่วยให้สารต้านอนุมูลอิสระที่ทำงานไปแล้ว กลับมาทำงานได้อีกครั้ง 


    และควรเลือกใช้แบรนด์ที่น่าเชื่อถือ มีความปลอดภัย สามารถตรวจสอบได้ ถึงที่มาของสาร ปริมาณสาร และมีรางวัลการันตีระดับสากล และที่สำคัญ ได้ อย. มีฉลากให้ตรวจสอบชัดเจน 

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Reed, L. J., De, B. K., Gunsalus, I. C., & Hornberger, C. S. (1951). Crystalline α-lipoic acid: a catalytic agent associated with pyruvate dehydrogenase. Science, 114(2952), 93-94.

  2. Packer, L., Witt, E. H., & Tritschler, H. J. (1995). Alpha-lipoic acid as a biological antioxidant. Free Radical Biology and Medicine, 19(2), 227-250.

  3. Jacob, S., Ruus, P., Hermann, R., Tritschler, H. J., Maerker, E., Renn, W., ... & Rett, K. (1999). Oral administration of RAC-α-lipoic acid modulates insulin sensitivity in patients with type-2 diabetes mellitus: a placebo-controlled pilot trial. Free Radical Biology and Medicine, 27(3-4), 309-314.

  4. Ziegler, D., Ametov, A., Barinov, A., Dyck, P. J., Gurieva, I., Low, P. A., ... & Samigullin, R. (2006). Oral treatment with α-lipoic acid improves symptomatic diabetic polyneuropathy: the SYDNEY 2 trial. Diabetes care, 29(11), 2365-2370.

  5. Bustamante, J., Lodge, J. K., Marcocci, L., Tritschler, H. J., Packer, L., & Rihn, B. H. (1998). α-Lipoic acid in liver metabolism and disease. Free Radical Biology and Medicine, 24(6), 1023-1039.

www.nowfoodsthailand.com

 

ตัวแทนนำเข้าและจัดจำหน่าย

ผลิตภัณฑ์ NOW FOODS อย่างเป็น

ทางการแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย


Copyright ® 2022 www.nowfoodsthailand.com