มะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจ โรคร้ายที่ทำให้ดาราดังเสียชีวิตไปในไม่กี่วันก่อน โรคนี้ร้ายแรงแค่ไหน ใครเสี่ยงบ้าง ต้องดูแลรักษาอย่างไร มาหาความรู้จากบทความนี้ไปพร้อมกัน
โดยมะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจ หรือที่เรียกในทางการแพทย์กันว่า “Cardiac Sarcoma” เป็นโรคมะเร็งที่พบได้น้อยมาก แต่มีความร้ายแรงสูง วันนี้ เราจะมาทราบข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ การวินิจฉัย และแนวทางการรักษามะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจ เพื่อสร้างความเข้าใจ หาวิธีการป้องกัน และความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจ
มะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจเป็นมะเร็งชนิดหนึ่ง ซึ่งกิดจากเนื้องอกชนิดร้ายแรงที่เกิดขึ้นในเนื้อเยื่อของหัวใจ โดยส่วนใหญ่มักเกิดที่กล้ามเนื้อหัวใจ แต่ก็อาจพบได้ในส่วนอื่นๆ ของหัวใจ เช่น เยื่อหุ้มหัวใจ หรือเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจได้ด้วยเช่นกัน
แม้ว่าสาเหตุที่แน่ชัดของมะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่นักวิจัยพบว่าปัจจัยเสี่ยงบางอย่างอาจเพิ่มโอกาสในการเกิดโรคนี้ ได้แก่ พันธุกรรม, การได้รับรังสีในบริเวณหน้าอก, การสัมผัสสารเคมีบางชนิด หรือ ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
อาการของมะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจมักไม่ชัดเจนในระยะแรก และอาจคล้ายคลึงกับโรคหัวใจชนิดอื่นๆ อาการที่พบบ่อย ได้แก่ หายใจลำบากหรือหอบเหนื่อย, อาการเจ็บหน้าอก, ใจสั่น, ไอเป็นเลือด, อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย, บวมที่ขาหรือข้อเท้า
การรักษามะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ขนาดและตำแหน่งของเนื้องอก ระยะของโรค และสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย วิธีการรักษาหลักๆ ตัวอย่างเช่น
การผ่าตัดนับเป็นวิธีการรักษาหลักสำหรับมะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจ โดยมีจุดประสงค์เพื่อนำเนื้องอกออกให้มากที่สุด โดยจะทำการผ่าตัดเปิดหัวใจเพื่อตัดก้อนเนื้อโดยตรง
เคมีบำบัดเป็นการใช้ยาเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง จึงมักใช้ร่วมกับการผ่าตัด และการใช้ รังสีรักษา เป็นการใช้รังสีพลังงานสูงเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง ซึ่งนับเป็นวิธีที่นิยมในการรักษามะเร็ง
ถึงแม้จะไม่สามารถป้องกันมะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจได้อย่างสมบูรณ์ แต่การดูแลสุขภาพทั่วไปอาจช่วยลดความเสี่ยงได้ ดังนี้
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์
ตรวจสุขภาพประจำปี
สังเกตอาการผิดปกติและปรึกษาแพทย์ทันทีเมื่อมีข้อสงสัย
มะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจเป็นโรคที่พบได้น้อยแต่มีความรุนแรงการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญ หากสงสัยว่าตนเองมีความเสี่ยงหรือมีอาการผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์โดยเร็วที่สุด และการรับประทานสารอาหารที่มีประโยชน์ก็เป็นสิ่งจำเป็น ตัวอย่างเช่นผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ที่ได้รับมาตรฐานและมีคุณภาพ
ข้อมูลอ้างอิง
World Health Organization. (2023). Cancer. https://www.who.int/health-topics/cancer
ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย. (2023). โรคมะเร็ง. https://www.rcpt.org/
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. (2023). ข้อมูลโรคมะเร็ง. https://www.nci.go.th/
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย. (2023). ศูนย์โรคหัวใจ. https://chulacancer.net/