วิตามินดี 3 (Vitamin D3) หรือ โคเลแคลซิเฟอรอล (Cholecalciferol) เป็นรูปแบบหนึ่งของวิตามินดีที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพของมนุษย์ วิตามินดี 3 ถูกสร้างขึ้นในผิวหนังเมื่อสัมผัสกับแสงแดดนั่นเอง ถึงจะเป็นวิตามินที่ได้รับจาการสัมผัสแสงแดด แต่คนไทยก็ยังมีปัญหาในการขาดวิตามินดี 3 อยู่
จากการศึกษาของ Lips และคณะในปี 2011 ระบุว่าวิตามินดี 3 ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัส ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างและบำรุงรักษากระดูกและฟัน
จากการศึกษาของ Aranow ในปี 2011 กล่าวว่า วิตามินดี 3 มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นและควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยป้องกันการติดเชื้อและลดความเสี่ยงของโรคภูมิต้านทานตัวเอง
จากการศึกษาของ Bischoff-Ferrari และคณะในปี 2009 กล่าวว่า การได้รับวิตามินดี 3 อย่างเพียงพอสามารถช่วยลดความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุลงได้
โดยส่วนใหญ่แหล่งของวิตามินดี 3 ได้มาจาก แสงแดด โดยร่างกายสามารถสร้างวิตามินดี 3 เมื่อผิวหนังสัมผัสกับแสงแดดโดยตรง ในส่วนของอาหารนั้น วิตามินดี 3 จะพบมากในปลาที่มีไขมันสูง เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ไข่แดง หรือ ถ้าหากยังได้รับไม่เพียงพอก็สามารถเพิ่มจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้เช่นกัน
โดยปริมาณที่แนะนำของวิตามินดี 3 ต่อวันจะอยู่ที่ 600-800 IU ต่อวันสำหรับบุคคลทั่วไป หรือในผู้สูงอายุอาจสูงถึง 800-1000 IU ขึ้นอยู่กับบุคคล
แม้ว่าการขาดวิตามินดี 3 จะเป็นปัญหาที่พบมากในไทย แต่การได้รับมากเกินไปก็อาจเป็นอันตรายได้ การได้รับวิตามินดี 3 ในปริมาณสูงเกิน จากการศึกษาของ Marcinowska-Suchowierska ในปี 2018 ระบุว่า อาจนำไปสู่ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อไตและระบบอื่นๆ ในร่างกาย
ข้อมูลอ้างอิง
Holick MF. Vitamin D deficiency. N Engl J Med. 2007;357(3):266-281.
Lips P, van Schoor NM. The effect of vitamin D on bone and osteoporosis. Best Pract Res Clin Endocrinol Metab. 2011;25(4):585-591.
Aranow C. Vitamin D and the immune system. J Investig Med. 2011;59(6):881-886.
Bischoff-Ferrari HA, Willett WC, Wong JB, et al. Prevention of nonvertebral fractures with oral vitamin D and dose dependency: a meta-analysis of randomized controlled trials. Arch Intern Med. 2009;169(6):551-561.
Institute of Medicine, Food and Nutrition Board. Dietary Reference Intakes for Calcium and Vitamin D. Washington, DC: National Academy Press, 2010.
Marcinowska-Suchowierska E, Kupisz-Urbańska M, Łukaszkiewicz J, Płudowski P, Jones G. Vitamin D Toxicity–A Clinical Perspective. Front Endocrinol (Lausanne). 2018;9:550.