0

Vogt-Koyanagi-Harada คืออะไร?


2024-09-16 15:57:35
#ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร #ระบบภูมิคุ้มกัน #การต้านอนุมูลอิสระ

     สิ่งที่นักร้องชื่อดังอย่าง กิต Three Man Down กำลังเผชิญอยู่คืออะไร ร้ายแรงแค่ไหน อาการเป็นอย่างไร และเราจะป้องกันได้อย่างไร วันนี้ NOWFOOSDTHAILAND มีคำตอบ 


     จากการที่ต้นสังกัดของทาง กิต Three Man Down ได้สั่งพักงานเจ้าตัวเนื่องด้วยอาการ จอประสาทตาอักเสบทั้งสองข้าง ถึงขนาดที่ต้องพักงานที่มีทั้งหมดในทันที และแพทย์ที่ทำการรักษายังลงความเห็นว่ามีอาการที่ชื่อแปลกอย่าง Vogt-Koyanagi-Harada (VKH) แล้วโรคนี้คืออะไรกัน รุนแรงขนาดนั้นเชียวหรือ?


     โรค Vogt-Koyanagi-Harada (VKH) เป็นโรคทางระบบภูมิคุ้มกันที่พบได้ยาก ที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายโจมตีเมลานิน ซึ่งเป็นสารที่ให้สีแก่ผิวหนัง เส้นผม ตา และโครงสร้างอื่น ๆ ภายในร่างกาย 


     ส่งผลกระทบต่ออวัยวะหลายส่วนโดยเฉพาะอย่างยิ่งตา หู และระบบประสาทส่วนกลาง โรคนี้มักจะเกิดขึ้นในกลุ่มคนที่มีเมลานินมาก เช่น คนเอเชีย ตะวันออกกลาง และละตินอเมริกา และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายในช่วงอายุ 20-50 ปี

Vogt-Koyanagi-Harada

อาการของโรค VKH

  • ทางตา: อาการที่พบบ่อยที่สุดคือการอักเสบของตา ซึ่งอาจทำให้การมองเห็นไม่ชัดและถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นได้หากไม่ได้รับการรักษา

  • ทางผิวหนัง: การเปลี่ยนสีของผิว (vitiligo) และการสูญเสียสีผม (poliosis) อาจเกิดขึ้น

  • ทางหู: หูอื้อ หรือสูญเสียการได้ยินอาจเกิดขึ้นเนื่องจากการอักเสบของเส้นประสาทหู

  • ระบบประสาท: มีอาการปวดศีรษะ, เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง


การวินิจฉัย

     การวินิจฉัยโรค VKH ทำได้โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สหสาขา เพราะมีผลกระทบในหลายระบบร่างกาย เช่น โรคตาและระบบภูมิคุ้มกัน ผ่านการตรวจร่างกายอย่างละเอียด โดยเฉพาะการตรวจตาด้วยเครื่องมือพิเศษ เช่น Optical Coherence Tomography (OCT) หรือการถ่ายภาพรังสี (Fluorescein Angiography) เพื่อดูความเสียหายของเนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้อง


การรักษาโรค VKH

     การรักษาโรค VKH เน้นที่การลดการอักเสบด้วยการใช้ยากลุ่ม corticosteroids หรือยากดภูมิคุ้มกัน เช่น methotrexate, cyclosporine และ mycophenolate mofetil เพื่อควบคุมอาการและป้องกันการสูญเสียการมองเห็นถาวร


วิธีป้องกันโรค VKH

     แม้ว่าโรค VKH จะเป็นโรคภูมิคุ้มกันที่ไม่สามารถป้องกันได้อย่างสมบูรณ์ แต่การรักษาและการตรวจพบโรคแต่เนิ่น ๆ สามารถช่วยลดผลกระทบที่รุนแรงได้ การดูแลตัวเองให้ดีและพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการ เช่น การมองเห็นผิดปกติหรืออาการปวดศีรษะที่ไม่ทราบสาเหตุ จะช่วยลดความเสี่ยงของการสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร

การหลีกเลี่ยงแสงแดดแรง และใช้ครีมกันแดดปกป้องผิวหนังจากการถูกทำลายของเมลานิน อาจเป็นวิธีที่ช่วยลดภาวะความเสี่ยงของการเกิดการเปลี่ยนสีผิวที่เกี่ยวข้องกับโรคนี้


ข้อมูลอ้างอิง

  • Chan, C. C., & Mochizuki, M. (1999). Vogt-Koyanagi-Harada syndrome. International Ophthalmology Clinics, 39(1), 63-68.

  • Rao, N. A. (2007). Vogt-Koyanagi-Harada disease: Pathogenesis and treatment. Progress in Retinal and Eye Research, 26(2), 224-252.

www.nowfoodsthailand.com

 

ตัวแทนนำเข้าและจัดจำหน่าย

ผลิตภัณฑ์ NOW FOODS อย่างเป็น

ทางการแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย


Copyright ® 2022 www.nowfoodsthailand.com