0

เคยได้ยิน Egg Fasting กันหรือไม่ ?


2024-09-09 09:30:42
#ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร #ลดน้ำหนัก

     Egg Fasting สิ่งที่หลายคนอาจไม่เคยได้ยินมาก่อน จริงๆ แล้ว Egg Fasting ก็เป็นอีกหนึ่งในวิธีการลดน้ำหนัก อีกหนึ่งวิธี หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การอดอาหารด้วยไข่ เป็นรูปแบบการรับประทานอาหารแบบจำกัดที่เน้นการบริโภคไข่เป็นหลัก โดยเป็นส่วนหนึ่งของการรับประทานอาหารแบบคีโตจีนิค (ketogenic diet)


     โดยหลักการของการทำ Egg Fasting นั้นคือการเปลี่ยนรูปแบบการรับประทานจากปกติ หันมารับประทานไข่แทนเป็นหลัก และเสริมด้วยการทานไขมันดีเสริมเข้าไป หรือนับเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการรับประทานแบบคีโตนั่นเอง 


รูปแบบของการทำ Egg Fasting

  • รับประทานไข่เป็นแหล่งอาหารหลัก โดยทั่วไปประมาณ 6-12 ฟองต่อวัน

  • สามารถรับประทานไขมันเพิ่มเติมในปริมาณจำกัด เช่น เนย น้ำมันมะกอก หรือมายองเนส

  • จำกัดปริมาณคาร์โบไฮเดรตโดยทั่วไปน้อยกว่า 10 กรัมต่อวัน

  • ระยะเวลาทำอยู่ระหว่างช่วงเวลา 3-5 วัน

Egg fasting คืออะไร

หลักการสำคัญ

     การรับประทานอาหารแบบคีโตจีนิค (ketogenic diet) เป็นรูปแบบการรับประทานที่เน้นการรับประทานอาหารในหมวดของไขมันเป็นหลัก โดยจะรับประทานไขมันดีอยู่ที่ ปริมาณ 70-80% ของพลังงานทั้งหมดต่อวัน ปริมาณโปรตีนอยู่ที่ 15-20% และจำกัดการรับประทานคารโบไอเดรตอยู่ที่ 5-10% เพียงเท่านั้น


     ตัวอย่างของ รูปแบบอาหาร ของการรับประทานแบบคีโตจีนิค (ketogenic diet) ที่เน้นสัดส่วนของไขมันเป็นหลักนั้น จะเน้นในรูปแบบของ ไขมันไม่อิ่มตัว จะมีตัวอย่างของอาหารอย่างไขมันดี ตัวอย่างเช่น น้ำมันมะกอก อะโวคาโด ถั่วเปลือกแข็ง และธัญพืชต่างๆ น้ำมันรำข้าว และปลาทะเล เป็นต้น เครื่องดื่มมักจะเป็น กาแฟดำ น้ำเปล่า ชาเขียว หรือเครื่องดื่มต่างๆที่ไม่มีน้ำตาล ในส่วนของผักก็จะเป็นในรูปแบบของผักใบเขียว อย่าง ผักสลัด ผักกาดแก้ว ผักโขม หรือแตงกวา 


     โดยหลักการดังกล่าวจะกระตุ้นร่างกายให้เกิดกระบวนการที่เรียกว่า ภาวะคีโตซิส (ketosis) ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายเมื่อได้รับปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่จำกัด จนทำให้ร่างกายหันมาเปลี่ยนแหล่งพลังงานเป็นการนำไขมันมาใช้เผาผลาญแทน ทำให้ร่างกายมีปริมาณไขมันที่ลดลง ซึ่งส่งผลให้น้ำหนักตัวลดลงด้วยเช่นกัน 


     แต่รูปแบบการลดน้ำหนักดังกล่าวนั้นก็ต้องมีการศึกษาที่ดีก่อนตัดสินใจ เนื่องจากอาจไม่ได้เหมาะสมกับทุกคน อาจมีข้อควรระวังที่ต้องคอยดูเช่น อาจะเกิดการขาดสารอาหารบางชนิด โดยส่วนมากจะเป็นจำพวก วิตามินและเกลือแร่ หรือว่าอาจไม่เหมาะกับผู้มีโรคประจำตัวอย่าง ภาวะไขมันในเลือดสูงอีกด้วย หรือผู้ที่จะทำวิธีดังกล่าวได้ อาจจะต้องเคยทำการ Fasting หรือเคยทานคีโตมาก่อนนั่นเอง


อ้างอิงข้อมูล

  • Paoli, A., Rubini, A., Volek, J. S., & Grimaldi, K. A. (2013). Beyond weight loss: a review of the therapeutic uses of very-low-carbohydrate (ketogenic) diets. European Journal of Clinical Nutrition, 67(8), 789-796.

  • Masood, W., & Uppaluri, K. R. (2022). Ketogenic diet. In StatPearls [Internet]. StatPearls Publishing.

  • Volek, J. S., Phinney, S. D., Forsythe, C. E., Quann, E. E., Wood, R. J., Puglisi, M. J., ... & Feinman, R. D. (2009). Carbohydrate restriction has a more favorable impact on the metabolic syndrome than a low fat diet. Lipids, 44(4), 297-309.

  • Westman, E. C., Mavropoulos, J., Yancy, W. S., & Volek, J. S. (2003). A review of low-carbohydrate ketogenic diets. Current Atherosclerosis Reports, 5(6), 476-483.

  • Ludwig, D. S. (2020). The ketogenic diet: evidence for optimism but high-quality research needed. The Journal of Nutrition, 150(6), 1354-1359.

www.nowfoodsthailand.com

 

ตัวแทนนำเข้าและจัดจำหน่าย

ผลิตภัณฑ์ NOW FOODS อย่างเป็น

ทางการแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย


Copyright ® 2022 www.nowfoodsthailand.com