ครีเอทีน (Creatine) เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่พบได้ตามธรรมชาติในร่างกายมนุษย์ โดยเฉพาะในเซลล์กล้ามเนื้อ ครีเอทีนถูกสร้างขึ้นจากกรดอะมิโน 3 ชนิด ได้แก่ อาร์จินีน (Arginine) ไกลซีน (Glycine) และเมไทโอนีน (Methionine) โดยส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นในตับ ไต และตับอ่อน
ครีเอทีนมีบทบาทสำคัญในการผลิตพลังงานให้กับเซลล์กล้ามเนื้อ โดยทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานสำรองสำหรับการสร้าง ATP (Adenosine Triphosphate) ซึ่งเป็นโมเลกุลพลังงานหลักของเซลล์ ครีเอทีนช่วยให้ร่างกายสามารถผลิตพลังงานได้อย่างรวดเร็วในระหว่างการออกกำลังกาย
ด้วยคุณสมบัติดังกล่าว ครีเอทีนจึงเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในวงการกีฬาและการออกกำลังกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มนักกีฬาและผู้ที่ต้องการเพิ่มมวลกล้ามเนื้ออีกด้วย
การศึกษาของ Kreider และคณะในปี 2017 แสดงให้เห็นว่าครีเอทีนสามารถเพิ่มพลังและความแข็งแรงในการออกกำลังกายแบบหนักและระยะสั้นได้
จากงานวิจัยของ Buford และคณะในปี 2007 ระบุว่าครีเอทีนช่วยเพิ่มการสังเคราะห์โปรตีนในกล้ามเนื้อ และส่งผลให้มวลกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นเมื่อใช้ร่วมกับการออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน
จากการศึกษาของ Cooke และคณะในปี 2009 กล่าว่วา ครีเอทีนช่วยลดการอักเสบและความเสียหายของกล้ามเนื้อหลังการออกกำลังกายอย่างหนักได้ดี
มีการศึกษาของ Avgerino และคณะในปี 2018 แสดงให้เห็นว่าครีเอทีนอาจช่วยปรับปรุงความจำและความสามารถในการคิดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มพลังและมวลกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะในกีฬาที่ต้องใช้พลังและความแข็งแรงสูง
คนที่ออกกำลังกายทั่วไปก็สามารถใช้ครีเอทีนได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการออกกำลังกายและการฟื้นตัวของกล้ามเนื้อ
ด้วยคุณสมบัติของครีเอทีน ที่มีคุณสมบัติในการช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ และจากงานวิจัยของ Devries และ Phillips ในปี 2014 กล่าวว่า ครีเอทีนอาจช่วยชะลอการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อและความแข็งแรงที่เกิดขึ้นตามอายุ
อย่างไรก็ตาม ครีเอทีนควรระมัดระวังในการใช้ในผู้ที่มีปัญหาไต หรือผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคไต เนื่องจากอาจเพิ่มภาระให้กับไต นอกจากนี้ ผู้ที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มใช้ครีเอทีนเสมอ
ในการใช้ครีเอทีน ควรรับประทานในปริมาณที่แนะนำ (โดยทั่วไปคือ 3-5 กรัมต่อวัน) และดื่มน้ำให้เพียงพอ การใช้ครีเอทีนร่วมกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและการรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนจะช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
ข้อมูลอ้างอิง
Kreider, R.B., et al. (2017). International Society of Sports Nutrition position stand: safety and efficacy of creatine supplementation in exercise, sport, and medicine. Journal of the International Society of Sports Nutrition, 14, 18.
Buford, T.W., et al. (2007). International Society of Sports Nutrition position stand: creatine supplementation and exercise. Journal of the International Society of Sports Nutrition, 4, 6.
Cooke, M.B., et al. (2009). Creatine supplementation enhances muscle force recovery after eccentrically-induced muscle damage in healthy individuals. Journal of the International Society of Sports Nutrition, 6, 13.
Avgerinos, K.I., et al. (2018). Effects of creatine supplementation on cognitive function of healthy individuals: A systematic review of randomized controlled trials. Experimental Gerontology, 108, 166-173.
Devries, M.C., & Phillips, S.M. (2014). Creatine supplementation during resistance training in older adults—a meta-analysis. Medicine and Science in Sports and Exercise, 46(6), 1194-1203.